หัวข้อ   “ ประเมินผลงาน 6 เดือน รัฐบาล นายกฯ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ”
 
                 ด้วยวันที่ 8 กุมภาพันธ์ นี้ เป็นวันที่ นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เข้าดำรงตำแหน่ง
นายกรัฐมนตรี ครบ 6 เดือน  ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) จึงได้ดำเนินการ
สำรวจความคิดเห็นของประชาชนเรื่อง “ประเมินผลงาน 6 เดือน รัฐบาลนายกฯ ยิ่งลักษณ์
ชินวัตร
” โดยเก็บข้อมูลจากประชาชน อายุ 18 ปีขึ้นไป ทุกภูมิภาคทั่วประเทศ จำนวน 1,151
คน  เมื่อวันที่ 31 มกราคม – 3 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา พบว่า
ดีมาก (5)
ดี (4)
ปานกลาง (3)
พอใช้ (2)
แย่ (1)
 
 
 
                 ประชาชนให้คะแนนความพึงพอใจการทำงานของรัฐบาล 4.94 คะแนน จาก
คะแนนเต็ม 10 คะแนน ซึ่งเพิ่มขึ้น จากผลสำรวจเมื่อตอนที่รัฐบาลทำงานครบ 3 เดือน 0.16
คะแนน โดยให้คะแนนความพึงพอใจผลงานด้านการต่างประเทศมากที่สุด (5.16 คะแนน) 
แต่พึงพอใจผลงานด้านการบริหารจัดการและการบังคับใช้กฎหมายน้อยที่สุด (4.81 คะแนน)
 
                 สำหรับผลงานและโครงการของรัฐบาลที่ประชาชนชื่นชอบมากที่สุด คือ
การปราบปรามยาเสพติด (ร้อยละ 35.4) การปรับขึ้นเงินเดือนข้าราชการ 15,000 บาท
สำหรับวุฒิปริญญาตรี (ร้อยละ 21.6)  และการแก้ปัญหาน้ำท่วมและการเยียวยาผู้ประสบภัย
หลังน้ำท่วม (ร้อยละ 14.5) ตามลำดับ
 
                 ส่วนคะแนนการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะนายกรัฐมนตรีของ นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้คะแนนเฉลี่ย 5.29 คะแนน
จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน ซึ่งเพิ่มขึ้นจากผลการประเมินเมื่อตอนที่ทำงานครบ 3 เดือน 0.31 คะแนน โดยได้คะแนนความขยัน
ทุ่มเทในการทำงานเพื่อแก้ปัญหาของประเทศมากที่สุด (6.06 คะแนน) แต่ได้คะแนนด้านความเด็ดขาด กล้าตัดสินใจน้อยที่สุด
(4.64 คะแนน)
 
                 ทั้งนี้เมื่อเปรียบเทียบคะแนนความพึงพอใจต่อการทำงานของพรรคเพื่อไทยซึ่งเป็นแกนนำรัฐบาล พรรคร่วม
รัฐบาล พรรคแกนนำฝ่ายค้าน และพรรคร่วมฝ่ายค้าน พบว่า พรรคเพื่อไทยได้ 5.42 คะแนน พรรคร่วมรัฐบาลได้ 4.39 คะแนน
ในขณะที่พรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งเป็นแกนนำฝ่ายค้านได้ 3.88 คะแนน และพรรคร่วมฝ่ายค้านได้ 3.80 คะแนน จากคะแนน
เต็ม 10 คะแนน
 
                 โปรดพิจารณารายละเอียดดังต่อไปนี้
 
             1. คะแนนความพึงพอใจผลงาน 6 เดือน ของรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร พบว่าได้คะแนนเฉลี่ย
                 4.94 คะแนน จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน
                         ทั้งนี้ เมื่อเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยจากการสำรวจเมื่อตอนที่รัฐบาลทำงานครบ 3 เดือน
                 พบว่า มีคะแนนเพิ่มขึ้นในทุกด้านดังตารางต่อไปนี้


ครบ 3 เดือน
(คะแนนที่ได้)
ครบ 6 เดือน
(คะแนนที่ได้)
เพิ่มขึ้น/
ลดลง
ด้านการต่างประเทศ
5.09
5.16
+ 0.07
ด้านความมั่นคงของประเทศ
4.83
4.95
+ 0.12
ด้านสังคมและคุณภาพชีวิต
4.82
4.94
+ 0.12
ด้านเศรษฐกิจ
4.52
4.82
+ 0.30
ด้านการบริหารจัดการและการบังคับ
ใช้กฎหมาย
4.62
4.81
+ 0.19
คะแนนเฉลี่ย
4.78
4.94
+ 0.16

               หมายเหตุ   - การสุ่มตัวอย่างในการสำรวจแต่ละครั้งใช้หลักเกณฑ์เดียวกัน ด้วยข้อคำถามแบบเดียวกัน
                                แต่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่างกลุ่มเดียวกัน

 
 
             2. ผลงานหรือโครงการของรัฐบาลในรอบ 6 เดือน ที่ประชาชนชื่นชอบมากที่สุด 5 อันดับแรก คือ
                 (เป็นคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบระบุเอง)

 
ร้อยละ
การปราบปรามยาเสพติด
35.4
การปรับขึ้นเงินเดือนข้าราชการ 15,000 บาท สำหรับวุฒิปริญญาตรี
21.6
การแก้ปัญหาน้ำท่วมและการเยียวยาผู้ประสบภัยหลังน้ำท่วม
14.5
การรับจำนำข้าวเปลือกและการประกันพืชผลทางการเกษตร
11.1
การปรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุแบบขั้นบันได
5.0
 
 
             3. คะแนนความพึงพอใจการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะนายกรัฐมนตรีของ นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
                 พบว่า ได้คะแนน เฉลี่ย 5.29 คะแนนจากคะแนนเต็ม 10 คะแนน

ครบ 3 เดือน
(คะแนนที่ได้)
ครบ 6 เดือน
(คะแนนที่ได้)
เพิ่มขึ้น/
ลดลง
ความขยันทุ่มเทในการทำงานเพื่อแก้
ปัญหาของประเทศ
5.61
6.06
+ 0.45
ความซื่อสัตย์สุจริต
5.35
5.48
+ 0.13
การรักษาผลประโยชน์ส่วนรวมของ
ประเทศชาติ
5.04
5.27
+ 0.23
ความสามารถสร้างสรรค์ผลงานหรือ
โครงการใหม่ๆ
4.87
5.24
+ 0.37
ความสามารถในการบริหารจัดการตาม
อำนาจหน้าที่ ที่มี
4.68
5.00
+ 0.32
ความเด็ดขาด กล้าตัดสินใจ
4.34
4.64
+ 0.30
คะแนนเฉลี่ย
4.98
5.29
+ 0.31

               หมายเหตุ   - การสุ่มตัวอย่างในการสำรวจแต่ละครั้งใช้หลักเกณฑ์เดียวกัน ด้วยข้อคำถามแบบเดียวกัน
                                แต่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่างกลุ่มเดียวกัน

 
 
             4. คะแนนความพึงพอใจต่อการทำงานของพรรคแกนนำรัฐบาล พรรคร่วมรัฐบาล พรรคแกนนำ
                 ฝ่ายค้าน และพรรคร่วมฝ่ายค้าน จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน

ครบ 3 เดือน
(คะแนนที่ได้)
ครบ 6 เดือน
(คะแนนที่ได้)
เพิ่มขึ้น/
ลดลง
พรรคแกนนำรัฐบาล
( พรรคเพื่อไทย )
4.84
5.42
+ 0.58
พรรคร่วมรัฐบาล
( พรรคชาติไทยพัฒนา พรรคพลังชล
  พรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน
  พรรคมหาชน )
4.06
4.39
+ 0.33
พรรคแกนนำฝ่ายค้าน
( พรรคประชาธิปัตย์ )
4.26
3.88
- 0.38
พรรคร่วมฝ่ายค้าน
( พรรคภูมิใจไทย พรรครักประเทศไทย
  พรรครักษ์สันติ พรรคมาตุภูมิ )
3.94
3.80
- 0.14

               หมายเหตุ   - การสุ่มตัวอย่างในการสำรวจแต่ละครั้งใช้หลักเกณฑ์เดียวกัน ด้วยข้อคำถามแบบเดียวกัน
                                แต่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่างกลุ่มเดียวกัน

 
 
รายละเอียดในการสำรวจ
วัตถุประสงค์:
                  เพื่อสอบถามความคิดเห็นของประชาชนจากทั่วประเทศ เกี่ยวกับการประเมินผลงานในด้านต่างๆ ของรัฐบาล
นายกรัฐมนตรี ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เมื่อทำงานมาครบ 6 เดือน ตลอดจนผลงานหรือโครงการของรัฐบาลที่ประชาชนชื่นชอบ
รวมถึงให้คะแนนการทำหน้าที่ในฐานะนายกรัฐมนตรีและการทำหน้าที่ของฝ่ายต่างๆ ทางการเมือง  เพื่อสะท้อนมุมมองความ
คิดเห็นของประชาชนให้สังคมและผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ และนำไปใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาประเทศต่อไป
 
ระเบียบวิธีการสำรวจ:
                  การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป ที่อาศัยอยู่ในภูมิภาคต่างๆ ทั่วประเทศ โดยการสุ่ม
ตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) และใช้วิธีเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบพบตัวและการสุ่มสัมภาษณ์
ทางโทรศัพท์ ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 1,151 คน เป็นเพศชายร้อยละ 49.7 และเพศหญิงร้อยละ 50.3
 
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error):
                  ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน  3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
 
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล:
                  ใช้การสัมภาษณ์แบบพบตัว (Face-to-face Interview) และสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ เครื่องมือที่ใช้ในการ
เก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) และคำถาม
ปลายเปิด (Open Form) ให้ผู้ตอบระบุเองโดยอิสระ จากนั้นคณะนักวิจัยได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้อง
สมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
 
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล:  31 มกราคม - 6 กุมภาพันธ์ 2555
 
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ: 8 กุมภาพันธ์ 2555
 
สรุปข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง:
ตารางข้อมูลประชากรศาสตร์
 
จำนวน
ร้อยละ
เพศ:    
             ชาย
572
49.7
             หญิง
579
50.3
รวม
1,151
100.0
อายุ:
 
 
             18 – 25 ปี
241
20.9
             26 – 35 ปี
301
26.2
             36 – 45 ปี
281
24.4
             46 ปีขึ้นไป
328
28.5
รวม
1,151
100.0
การศึกษา:
 
 
             ต่ำกว่าปริญญาตรี
621
54.0
             ปริญญาตรี
445
38.6
             สูงกว่าปริญญาตรี
85
7.4
รวม
1,151
100.0
อาชีพ:
 
 
             ข้าราชการ / รัฐวิสาหกิจ
216
18.7
             พนักงานบริษัทเอกชน
242
21.0
             ค้าขาย / ประกอบอาชีพส่วนตัว
240
20.9
             รับจ้างทั่วไป
134
11.6
             พ่อบ้าน / แม่บ้าน / เกษียณอายุ
92
8.0
             อื่นๆ เช่น นิสิตนักศึกษา อาชีพอิสระ ว่างงาน
             เกษตรกร ฯลฯ
227
19.8
รวม
1,151
100.0
 
ติดตามกรุงเทพโพลล์ผ่าน twitter ได้ที่  twitter bangkokpoll
Download PDF file:  
 
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)
Email: bangkokpoll@bu.ac.th      โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1770-1776